ในสมัยของพระพุทธเจ้าพระนามว่า
ตัตตาการา (ล.๑
ตัณหังการ) มีพระราชาองค์หนึ่ง
พระนามว่าพรหมทัต
มีมเหสีพระนามว่าวรุณวดีราชเทวี
ปกครองเมืองพาราณสีด้วยทศพิธราชธรรม
ยังมีหมู่บ้านแห่งหนึ่งชื่อว่าปาจินคาม ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำ
มีประมาณ ๓๐๐ หลังคาเรือน
มีนายกวานบ้านหรือหัวหน้าหมู่บ้านชื่อว่าตาแสนไช
มีภรรยาชื่อว่านางบัวไข
มีลูกชายคนหนึ่งชื่อว่าท้าวบัวพันชั้น
เมื่อท้าวบัวพันชั้นอายุได้ ๑๖ ปี
ตาแสนไชก็ตายจากไป
หลังจากนั้นนางบัวไขก็ไปสู่ขอนางปัททุมมามาเป็นภรรยาท้าวบัวพันชั้น
อยู่กินกันมาได้ ๖ ปีก็ยังไม่มีลูก
นางบัวไขจึงบอกให้อธิษฐานขอลูกจากเทวดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ด้วยแรงอธิษฐานของนางจึงร้อนไปถึงพระอินทร์
แล้วพระอินทร์จึงทรงพิจารณาหาเทวดาผู้ที่จะสิ้นอายุขัย
ก็พบว่ามีเทพบุตรตนหนึ่งซึ่งเป็นหน่อพุทธางกูรโพธิสัตว์กำลังจะสิ้นอายุขัย
จะจุติลงไปเกิดในโลกมนุษย์
พระอินทร์จึงเสด็จไปเชิญเทพบุตรตนนั้นลงไปเกิดในครรภ์ของนางปัททุมมา
เทพบุตรตนนั้นก็รับแต่โดยดี
และก่อนที่จะลงไปเกิดในโลกมนุษย์พระอินทร์ได้ส่งเทพธิดา
๔ นางลงไปเกิดพร้อมกัน
และได้มอบของวิเศษให้แก่เทพธิดาทั้ง
๔ นางลงไปเกิดด้วยดังนี้คือ
ได้มอบงาช้างทิพย์คู่หนึ่งพร้อมทั้งแหวนธำมรงค์ให้แก่นางมาสเทพธิดา
มอบกงจักรแก้วให้แก่นางพยฆราชกัญญาเทพธิดา
มอบดาบสีคันไชให้แก่นางสีหาราชกัญญาเทพธิดา
และมอบฆ้องวิเศษให้แก่นางคชุทกราชกัญญาเทพธิดา
ขณะที่ลงมาเกิดพอถึงกลางท้องฟ้าเทพบุตรและเทพธิดาทั้ง
๕ ตนก็ถูกลมพัดให้ไปเกิดคนละแห่ง
กล่าวคือนางมาสเทพธิดาลงไปเกิดในครรภ์ของนางโมลีราชเทวีมเหสีของพระยาตุ้ม
วังฟ้าฮ่วนกษัตริย์เมืองราชคฤห์
นางพยฆราชกัญญาเทพธิดาลงไปเกิดในท้องของนางเสือโคร่ง
นางสีหาราชกัญญาเทพธิดาลงไปในท้องของนางราชสีห์
นางคชุทกราชกัญญาเทพธิดาลงไปเกิดในท้องของนางช้างน้ำ
นางทั้ง ๔ มีรูปโฉมผิวพรรณงดงามมาก
ส่วนเทพบุตรได้ลงไปเกิดในครรภ์ของนางปัททุมมา
ณ บ้านปาจินคาม เมืองพาราณสี มีนามว่า
บุษบา
เมื่อท้าวบุษบาอายุได้ ๗
ปีท้าวบัวพันชั้นและนางปัททุมมาก็ตายจากไป
ท้าวบุษบาจึงเป็นกำพร้าอยู่กับย่าเพียง ๒ คนโดยมีชีวิตอยู่อย่างลำบากยากจน
อยู่มาวันหนึ่งท้าวกำพร้าบุษบาลงไปอาบน้ำที่หนองน้ำเห็นคนตกเบ็ดได้ปลามาก
มาย
จึงอยากจะตกเบ็ดกับเขาบ้าง
จึงไปอ้อนวอนย่าให้หาเบ็ดให้
เพราะความยากจนแม้สักว่ามีดจะผ่าฟืนก็ยังไม่มี
ย่าจึงห้ามไว้
แต่ท้าวกำพร้าบุษบาก็ยังอ้อนวอนอยู่
จนในที่สุดย่าก็ไปค้นหาของที่พอจะมีค่าบ้างและได้เห็นกระดิ่งทอง
๓
ลูกจึงเอาไปขอแลกเบ็ดกับเด็กชาวบ้านแล้วท้าวกำพร้าบุษบาก็ไปตกเบ็ดได้ปลาหมอ
มากมายแล้วจึงหาบกลับบ้านเอามาทำเป็นอาหารกินที่เหลือก็เอามาทำปลาร้าไว้
เพื่อแลกและขายเลี้ยงชีวิต
ในวันหนึ่งได้ฝากพ่อค้าสำเภาไปขายที่เมืองหล้าน้ำ
พอไปถึงเมืองหล้าน้ำพ่อค้าเปิดไหปลาร้าเพื่อเอาไปขาย
แต่ปลาร้ามีกลิ่นเหม็นมากจึงไม่มีคนซื้อ
พอถึงตอนกลางคืนพระอินทร์ได้เอาปลาร้าทิพย์ลงมาจากสวรรค์มาใส่ไว้แทน
กลิ่นปลาร้าทิพย์หอมฟุ้งกระจายไปทั่วเมือง
พอวันรุ่งขึ้นพ่อค้าสำเภาเปิดไหแล้วชิมดูปรากฏว่าปลาร้านั้นมีรสชาติอร่อย
มากจึงปรึกษากันว่าจะนำไปถวายพระราชาเมืองหล้าน้ำเท่านั้นจึงจะเหมาะสม
จึงนำไปถวายพระราชาแล้วกลับมาขายของตามเดิม
ฝ่ายพระราชาเมืองหล่าน้ำจึงให้พวกมหาดเล็กเปิดดูแล้วกลิ่นก็หอมฟุ้งตระหลบ
อบอวลไปทั่วเมืองแล้วจึงชิมดู
ปลาร้ามีรสชาติอร่อยมาก
พระราชาเมืองหล้าน้ำจึงให้พวกมหาดเล็กควักปลาร้าออกแล้วให้เอาแก้วแหวนเงิน
ทองใส่ไว้แทนและเอาปลาร้าปกปิดไว้ข้างบนแล้วปิดไหไว้ดังเดิม
วันต่อมาพวกพ่อค้าขายของหมดแล้วจึงมาทูลลาพระราชาเมืองหล้าน้ำกลับ
พระราชาจึงตรัสหยอกล้อเล่นกับพ่อค้าสำเภาว่า
ปลาร้าในเมืองนี้มีมากมายไม่ต้องการปลาร้าไหนี้
ให้เอากลับคืนไปให้ท้าวกำพร้าเสีย
พ่อค้าสำเภาเข้าใจว่าพระราชาตรัสจริง
จึงไม่ได้เปิดดู
พอกลับมาถึงบ้านจึงไปบอกให้ท้าวกำพร้ามาเอาไหปลาร้ากลับไป
ท้าวกำพร้าก็มาเอาไปเก็บไว้ที่บ้านโดยไม่ได้เปิดดู
จนเวลาผ่านไป ๓–๔ ปี
พ่อค้าสำเภาไปขายของที่เมืองราชคฤห์ท้าวกำพร้าก็ฝากปลาร้าไหเดิมไปขาย
พอไปถึงเมืองราชคฤห์ก็เอาปลาร้าไหนั้นไปถวายพระยาตุ้มวังฟ้าฮ่วน
หลังจากพวกพ่อค้าสำเภาลงไปจากปราสาทพระยาตุ้มวังฟ้าฮ่วนก็ให้พวกมหาดเล็ก
เปิดดูไหปลาร้านั้น
พอหยั่งมือลงไปประมาณข้อมือหนึ่งก็พบแก้วแหวนเงินทองมากมาย
จึงทรงดำริว่าไหปลาร้านี้มิใช่ของคนธรรมดา น่าจะเป็นของคนผู้มีบุญญาธิการ
และทรงดำริว่าจะยกนางมาสให้แก่เจ้าของไหปลาร้านั้นจึงประชุมเสนาอำมาตย์แล้ว
ให้หมอโหรมาทำนายดูดวงชะตาของเจ้าของไหปลาร้า
จึงรู้ว่าท้าวกำพร้าเป็นผู้ที่มีบุญญาธิการและเป็นคู่ครองของนางมาสที่ลงมา
เกิดจากสวรรค์ด้วยกัน
จึงตัดสินใจยกนางมาสให้โดยให้นางมาสเข้าไปอยู่ในงาช้างทิพย์คู่ที่ลงมาจาก
สวรรค์พร้อมกับนางมาสพร้อมด้วยแก้วแหวนเงินทองมากมายแล้ว
เมื่อพวกพ่อค้าสำเภามาลากลับเมืองก็ให้พวกพ่อค้าสำเภาเอางาช้างคู่นั้นไปฝาก
ท้าวกำพร้าบุษบาเป็นค่าปลาร้า
เมื่อพวกพ่อค้าสำเภากลับไปถึงเมืองพาราณสีแล้วก็ไปบอกให้ท้าวกำพร้ามาแบกเอา
งาช้างคู่นั้น
ท้าวกำพร้าดีใจมากจึงรีบมาหามงาช้างพร้อมกับย่า
แต่งาช้างหนักมากต้องใช้คน ๗–๘
คนจึงจะหามได้
เนื่องจากมีเพียงแค่ ๒
คนคือย่าและหลาน
นางบัวไขผู้เป็นย่าจึงให้ท้าวกำพร้าบุษบาอธิษฐานว่าถ้าเป็นผู้ที่มี
บุญญาธิการจริงก็ให้ยกงาช้างได้โดยง่าย
แล้วท้าวกำพร้าก็อธิษฐานและยกงาช้างนั้นขึ้นบ่าหามไปถึงฝั่งน้ำได้โดยง่าย
แต่พอจะหามไปบ้านงาช้างนั้นก็กลับหนักอีก
ท้าวกำพร้าจึงอธิษฐานให้งาช้างหมุนเวียนไปในทิศที่จะอยู่แล้วมีความสุขความ
เจริญ
แล้วงาช้างก็เวียนเคลื่อนไปในด้านทิศเหนือไปหยุดอยู่ตรงระหว่างชะง่อนหิน
แห่งหนึ่งก็มืดค่ำพอดี
แล้วทั้งย่าและหลานก็เฝ้างาช้างคู่นั้น
ด้วยความเหนื่อยและความหิวย่าและหลานก็พากันนอนหลับไป
ขณะที่ย่าและหลานนอนหลับอยู่นั้น
นางมาสก็ออกจากงาช้างมาเนรมิตกระท่อม
เอาอาหารทิพย์ออกมาจัดเตรียมไว้และจุดไฟให้สว่าง
ย่าและหลานตื่นขึ้นมาเห็นอาหารก็ไม่ยอมกิน
เพราะคิดว่าคนที่จัดเตรียมอาหารไว้ให้นั้นต้องการจะฆ่าหรือไม่ก็ปรับสินไหม
จึงนอนหลับ
นางมาสก็ออกมาอุ้มเอานางบัวไขและท้าวกำพร้าขึ้นไปนอนบนกระท่อมและห่มผ้าให้
แล้วก็เข้าไปอยู่ในงาช้างตามเดิม
วันรุ่งขึ้นย่าและหลานจึงไปเก็บข้าวของที่บ้านเพื่อมาอยู่เฝ้างาช้าง
พอมาถึงก็มีคนจัดเตรียมอาหารไว้ให้อีก
ด้วยความหิวทั้งย่าและหลานจึงกินจนอิ่มแล้วก็มืดค่ำและนอนหลับไป
วันต่อมาท้าวกำพร้าใช้อุบายเพื่อจะแอบดูคนที่มาจัดเตรียมอาหารไว้ให้โดยบอก
ให้ย่าไปตักน้ำแล้วตนเองก็แอบซุ่มอยู่พุ่มไม้
พอเห็นนางมาสออกมาจากงาช้างเก็บกวาดกระท่อมอยู่
จึงรีบวิ่งไปจับแขนนางมาสเอาไว้
แล้วถามความเป็นมาทุกอย่างต่อจากนั้นทั้ง
๒ ก็อยู่กินเป็นสามีภรรยากัน
หลังจากนั้นมาทั้ง
๓
คนก็อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุขในกระท่อมกลางป่านั้นโดยไม่ได้ไปขอข้าวปลา
อาหารเสื้อผ้ากับชาวบ้านอีกต่อไป
เวลาผ่านไปหลายเดือน ชาวบ้านปาจินคามไม่เห็นย่าและหลานทั้ง ๒ มาขอข้าวปลาอาหารเหมือนเดิมตั้งแต่ไปอยู่เฝ้างาช้าง จึงได้ส่งคนไปสืบดูจึงรู้ว่าคนทั้ง ๒ ยังมีชีวิตอยู่และท้าวกำพร้ายังมีภรรยาที่มีรูปโฉมงดงามราวกับเทพธิดา ข่าวความงามของนางมาสก็แพร่กระจายไปถึงพระกรรณของพระยาพรหมทัตว่า ท้าวกำพร้าบุษบาซึ่งอยู่กระท่อมกลางป่ามีภรรยาสวยราวกับเทพธิดา เพราะราคะตัณหาเข้าครอบงำพระยาพรหมทัตจึงอยากได้นางมาสมาเป็นพระเทวี จึงวางอุบายเพื่อจะฆ่าท้าวกำพร้าบุษบา โดยการให้ท้าวกำพร้าบุษบาไปเอาน้ำนมเสือโคร่ง น้ำนมราชสีห์ และน้ำนมช้างน้ำตามลำดับเพื่อเอามาเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งท้าวกำพร้าก็สามารถหามาได้ทุกครั้ง และได้ภรรยามาเพิ่มทุกครั้ง คือนางพยฆราชกัญญา นางสีหาราชกัญญา และนางคชุทกราชกัญญาตามลำดับ เมื่อกำจัดท้าวกำพร้าไม่สำเร็จ พระยาพรหมทัตจึงปรึกษากับเสนาอำมาตย์ผู้ใกล้ชิดเพื่อคิดหาอุบายใหม่ พวกเสนาอำมาตย์จึงกราบทูลให้พระยาพรหมทัตใช้ให้ท้าวกำพร้าไปเยี่ยมญาติที่ ตายไปสู่ปรโลกและให้เอาวัตถุเข้าของมาเป็นหลักฐานด้วย โดยให้มาถึงภายใน ๓ วัน ถ้าไม่ไปก็จะฆ่า ถ้าไปแล้วไม่ได้วัตถุเข้าของมาเป็นหลักฐานก็จะฆ่าเหมือนกัน ด้วยสติปัญญาของนางมาสช่วยคิดกลอุบายให้โดยนางให้ท้าวกำพร้าหาบเอาวัตถุเข้า ของที่เอามาจากงาช้างเข้าไปแอบซ่อนอยู่ในป่าครบ ๓ วันแล้วจึงหาบออกมา ส่วนนางก็เอาขี้ผึ้งมาปั้นเป็นหุ่นท้าวกำพร้านอนไว้บนกระท่อมและเอาผ้าห่ม ไว้ เมื่อถึงวันที่ ๓ พวกเสนาอำมาตย์ก็มาติดตามข่าวคราวของท้าวกำพร้าเห็นเหตุการณ์ทุกอย่าง โดยเห็นท้าวกำพร้านอนนิ่งอยู่บนกระท่อมเห็นนางทั้ง ๔ เอาหุ่นขี้ผึ้งไปเผาบนกองฟืนแล้วท้าวกำพร้าก็หาบเข้าของออกมาจากป่าแล้วหลง เชื่อแล้วก็พาท้าวกำพร้านำเอาหาบเข้าของไปถวายแก่พระยาพรหมทัต พระยาพรหมทัตก็หลงเชื่อและอยากจะไปเยี่ยมญาติบ้างจึงถามทางไปกับท้าวกำพร้า ท้าวกำพร้าบุษบาจึงหลอกว่าต้องให้คนมัดมือมัดเท้าแล้วให้จุดไฟเผาก็จะไปถึง เพราะบาปกรรมอันหยาบช้าพระยาพรหมทัตถูกโมหะเข้าครอบงำจึงหลงเชื่อคำของท้าว กำพร้าโดยทำตามทุกอย่างและก็ถูกไฟเผาตายในที่สุดพร้อมกับพวกเสนาอำมาตย์ชั่ว ที่ให้คำปรึกษาในการทำชั่ว แล้วพวกเสนาอำมาตย์ที่ดีจึงเสี่ยงทายราชรถเพื่อหาพระราชาองค์ใหม่ แล้วราชรถก็ไปเกยที่กระท่อมท้าวกำพร้า ในที่สุดท้าวกำพร้าบุษบาก็ได้ครองเมืองพาราณสีแทนพระยาพรหมทัต ไพร่ฟ้าประชาชนก็อยู่อย่างสงบสุขร่มเย็น
กล่าวถึงพระยาสุริยะวงสากษัตริย์เมืองตักสิลานครโกรธเคืองต่อ พระยาตุ้มวางฟ้าฮ่วนที่มอบนางมาสไปให้เป็นค่าปลาร้าท้าวกำพร้า เพราะเมื่อครั้งที่ตนแต่งทูตและบรรณาการไปสู่ขอนางมาสไม่ยอมยกให้โดยให้ เหตุผลว่าจะให้อยู่ปกครองเมืองแทน พระยาสุริยะวงสาจึงยกทัพไปเมือง ราชคฤห์เพื่อจะฆ่าพระยาตุ้มวางฟ้าฮ่วน พระยาตุ้มวางฟ้าฮ่วนแต่งทัพออกไปสู้รบแต่ก็แพ้กลับมา จึงให้เชิญพระยาขีปปะเตชา เจ้าแห่งผีแมนตาทอก ซึ่งอยู่ยอดเขายุคันธรมาช่วยรบ แต่ฤทธิ์เดชของพระยาขีปปะเตชากับพระยาสุริยะวงสาเท่าเทียมกันไม่มีใครแพ้ไม่ มีใครชนะ พระยาขีปปะเตชาผีแมนตาทอกจึงบอกให้พระยาตุ้มวางฟ้าฮ่วนส่งคนไปเชิญพระยา กำพร้ามาช่วยรบและพระยากำพร้าก็มาช่วยสู้รบและสามารถปราบพระยาสุริยะวงสาได้ โดยพระยาสุริยะวงสาได้ยอมแพ้และได้แต่งเครื่องบรรณาการมาขอขมาแล้วทั้ง ๒ พระองค์ก็ได้สาบานเป็นพี่น้องกัน หลังจากบ้านเมืองสงบสุขแล้วพระยากำพร้าก็ลากลับเมือง ต่อมาพระยากำพร้าออกเทศนาสั่งสอนเสนาอำมาตย์ให้หมั่นทำทานรักษาศีล ๕ และเสด็จไปโปรดมนุษย์ตามเมืองต่างๆ ทั่วชมพูทวีป
ต่อมาพระยากำพร้าได้บุตรธิดา ๔ คน ได้จัดให้อภิเษกสมรสกันระหว่างพี่น้องแล้วมอบราชสมบัติให้แก่พระโอรสองค์โต ซึ่งเป็นลูกของนางมาส และให้พระโอรสองค์รองเป็นอุปราชแล้วพระยากำพร้าบำเพ็ญศีลทานภาวนาตลอดชีวิต แล้วจุติตายไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต
เวลาผ่านไปหลายเดือน ชาวบ้านปาจินคามไม่เห็นย่าและหลานทั้ง ๒ มาขอข้าวปลาอาหารเหมือนเดิมตั้งแต่ไปอยู่เฝ้างาช้าง จึงได้ส่งคนไปสืบดูจึงรู้ว่าคนทั้ง ๒ ยังมีชีวิตอยู่และท้าวกำพร้ายังมีภรรยาที่มีรูปโฉมงดงามราวกับเทพธิดา ข่าวความงามของนางมาสก็แพร่กระจายไปถึงพระกรรณของพระยาพรหมทัตว่า ท้าวกำพร้าบุษบาซึ่งอยู่กระท่อมกลางป่ามีภรรยาสวยราวกับเทพธิดา เพราะราคะตัณหาเข้าครอบงำพระยาพรหมทัตจึงอยากได้นางมาสมาเป็นพระเทวี จึงวางอุบายเพื่อจะฆ่าท้าวกำพร้าบุษบา โดยการให้ท้าวกำพร้าบุษบาไปเอาน้ำนมเสือโคร่ง น้ำนมราชสีห์ และน้ำนมช้างน้ำตามลำดับเพื่อเอามาเป็นยาอายุวัฒนะ ซึ่งท้าวกำพร้าก็สามารถหามาได้ทุกครั้ง และได้ภรรยามาเพิ่มทุกครั้ง คือนางพยฆราชกัญญา นางสีหาราชกัญญา และนางคชุทกราชกัญญาตามลำดับ เมื่อกำจัดท้าวกำพร้าไม่สำเร็จ พระยาพรหมทัตจึงปรึกษากับเสนาอำมาตย์ผู้ใกล้ชิดเพื่อคิดหาอุบายใหม่ พวกเสนาอำมาตย์จึงกราบทูลให้พระยาพรหมทัตใช้ให้ท้าวกำพร้าไปเยี่ยมญาติที่ ตายไปสู่ปรโลกและให้เอาวัตถุเข้าของมาเป็นหลักฐานด้วย โดยให้มาถึงภายใน ๓ วัน ถ้าไม่ไปก็จะฆ่า ถ้าไปแล้วไม่ได้วัตถุเข้าของมาเป็นหลักฐานก็จะฆ่าเหมือนกัน ด้วยสติปัญญาของนางมาสช่วยคิดกลอุบายให้โดยนางให้ท้าวกำพร้าหาบเอาวัตถุเข้า ของที่เอามาจากงาช้างเข้าไปแอบซ่อนอยู่ในป่าครบ ๓ วันแล้วจึงหาบออกมา ส่วนนางก็เอาขี้ผึ้งมาปั้นเป็นหุ่นท้าวกำพร้านอนไว้บนกระท่อมและเอาผ้าห่ม ไว้ เมื่อถึงวันที่ ๓ พวกเสนาอำมาตย์ก็มาติดตามข่าวคราวของท้าวกำพร้าเห็นเหตุการณ์ทุกอย่าง โดยเห็นท้าวกำพร้านอนนิ่งอยู่บนกระท่อมเห็นนางทั้ง ๔ เอาหุ่นขี้ผึ้งไปเผาบนกองฟืนแล้วท้าวกำพร้าก็หาบเข้าของออกมาจากป่าแล้วหลง เชื่อแล้วก็พาท้าวกำพร้านำเอาหาบเข้าของไปถวายแก่พระยาพรหมทัต พระยาพรหมทัตก็หลงเชื่อและอยากจะไปเยี่ยมญาติบ้างจึงถามทางไปกับท้าวกำพร้า ท้าวกำพร้าบุษบาจึงหลอกว่าต้องให้คนมัดมือมัดเท้าแล้วให้จุดไฟเผาก็จะไปถึง เพราะบาปกรรมอันหยาบช้าพระยาพรหมทัตถูกโมหะเข้าครอบงำจึงหลงเชื่อคำของท้าว กำพร้าโดยทำตามทุกอย่างและก็ถูกไฟเผาตายในที่สุดพร้อมกับพวกเสนาอำมาตย์ชั่ว ที่ให้คำปรึกษาในการทำชั่ว แล้วพวกเสนาอำมาตย์ที่ดีจึงเสี่ยงทายราชรถเพื่อหาพระราชาองค์ใหม่ แล้วราชรถก็ไปเกยที่กระท่อมท้าวกำพร้า ในที่สุดท้าวกำพร้าบุษบาก็ได้ครองเมืองพาราณสีแทนพระยาพรหมทัต ไพร่ฟ้าประชาชนก็อยู่อย่างสงบสุขร่มเย็น
กล่าวถึงพระยาสุริยะวงสากษัตริย์เมืองตักสิลานครโกรธเคืองต่อ พระยาตุ้มวางฟ้าฮ่วนที่มอบนางมาสไปให้เป็นค่าปลาร้าท้าวกำพร้า เพราะเมื่อครั้งที่ตนแต่งทูตและบรรณาการไปสู่ขอนางมาสไม่ยอมยกให้โดยให้ เหตุผลว่าจะให้อยู่ปกครองเมืองแทน พระยาสุริยะวงสาจึงยกทัพไปเมือง ราชคฤห์เพื่อจะฆ่าพระยาตุ้มวางฟ้าฮ่วน พระยาตุ้มวางฟ้าฮ่วนแต่งทัพออกไปสู้รบแต่ก็แพ้กลับมา จึงให้เชิญพระยาขีปปะเตชา เจ้าแห่งผีแมนตาทอก ซึ่งอยู่ยอดเขายุคันธรมาช่วยรบ แต่ฤทธิ์เดชของพระยาขีปปะเตชากับพระยาสุริยะวงสาเท่าเทียมกันไม่มีใครแพ้ไม่ มีใครชนะ พระยาขีปปะเตชาผีแมนตาทอกจึงบอกให้พระยาตุ้มวางฟ้าฮ่วนส่งคนไปเชิญพระยา กำพร้ามาช่วยรบและพระยากำพร้าก็มาช่วยสู้รบและสามารถปราบพระยาสุริยะวงสาได้ โดยพระยาสุริยะวงสาได้ยอมแพ้และได้แต่งเครื่องบรรณาการมาขอขมาแล้วทั้ง ๒ พระองค์ก็ได้สาบานเป็นพี่น้องกัน หลังจากบ้านเมืองสงบสุขแล้วพระยากำพร้าก็ลากลับเมือง ต่อมาพระยากำพร้าออกเทศนาสั่งสอนเสนาอำมาตย์ให้หมั่นทำทานรักษาศีล ๕ และเสด็จไปโปรดมนุษย์ตามเมืองต่างๆ ทั่วชมพูทวีป
ต่อมาพระยากำพร้าได้บุตรธิดา ๔ คน ได้จัดให้อภิเษกสมรสกันระหว่างพี่น้องแล้วมอบราชสมบัติให้แก่พระโอรสองค์โต ซึ่งเป็นลูกของนางมาส และให้พระโอรสองค์รองเป็นอุปราชแล้วพระยากำพร้าบำเพ็ญศีลทานภาวนาตลอดชีวิต แล้วจุติตายไปเกิดบนสวรรค์ชั้นดุสิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น